เรื่องของ มดแดง / Asian weaver ant (Oecophylla smaragdina)
มดแดง เป็นมดที่เราคุ้นเคยกันดีเนื่องจากพบเจอได้ง่าย มีขนาดใหญ่ อยู่กันเป็นกลุ่มก้อน และมีความตื่นตัวมาก โดยมดชนิดนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ ทวีปเอเชียเขตร้อนจนไปถึงออสเตรเลียเลย
มดแดง ล่าเหยื่อกันเป็นกลุ่ม โดยมักล่าเหยื่อทั้งขนาดเล็กและใหญ่ หรือช่วยกันทำความสะอาดซากสัตว์มีกระดูกสันหลังก็ยังมี
ถ้าถามว่า มดแดง แดงแค่ไหน จริง ๆ ส่วนมากมีลำตัวออกสีแสดมากกว่านะคะ ในบางพื้นที่มดงานอาจมีท้องและหัวสีเขียวด้วย มดแดงไม่มีเหล็กใน แต่สามารถกัดได้ซึ่งแสบจี๊ด ไม่ถึงกับทำให้มีแผล เว้นแต่ถ้ารุมกัดกันก็น่าจะไม่เบา
ชีววิทยา / Biology
มดแดง อาศัยกันเป็นโคโลนี มีรังแยกกันหลายรังบนต้นไม้ ประกอบด้วยใบไม้สด ยึดโยงด้วยใยสีขาวใสจำนวนมากที่ยิงออกมาจากตัวอ่อนของมดนั่นเอง (ใช้งานซะคุ้มทุกระยะ)
ซึ่งสมาชิกภายในก็จะประกอบด้วย :
มดงานหลัก
มดงานรอง
มดเพศผู้
มดนางพญา
ดักแด้และตัวอ่อน
การปฏิสัมพันธ์กับชีวิตอื่น / Cooperation
มดแดง มีเพื่อนเยอะ กล่าวคือ มดแดงมีความสัมพันธ์กับแมลงหลายชนิดเช่น เพลี้ยจักจั่นเขา และหนอนผีเสื้อกลางวันในวงศ์ Lycaenidae โดยเหล่ามดมักมาดูดกินหวานที่ถูกปล่อยออกมาจากแมลงเหล่านี้ แลกกับการคุ้มกัน
ดังนั้นต้นไม้ไหนที่มี มดแดง เดินบนนั้นจำนวนมาก มักจะเจอแหล่งเติมพลังกลางทางอย่างแมลงพวกนี้เป็นต้น
เพลี้ยจักจั่นเขามักปล่อยน้ำหวานจากปลายท้อง และมดมักมาดูดกินเป็นประจำ
เช่นเดียวกับเพลี้ย หนอนผีเสื้อก็มีรางวัลให้เหล่ามดแลกกับความปลอดภัยเช่นกัน
ที่มา References
–
https://lkcnhm.nus.edu.sg/…/2017/04/2012nis039-056.pdf
–
https://www.antwiki.org/wiki/Oecophylla_smaragdina
–
https://www.researchgate.net/…/a-O-smaragdina-castes…
–
https://li01.tci-thaijo.org/…/article/view/248084/169678
–
https://www.inaturalist.org/…/117293-Oecophylla-smaragdina